น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายนนทิชัย ลิขิตาภรณ์ ผู้อำนวยการกองตรวจการมาตรฐาน 1 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เข้าตรวจสอบโรงงานผลิตเหล็ก “บริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด” ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
จากการเข้าตรวจสอบครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจาก กระทรวงอุตสาหกรรม นำตัวอย่างเหล็กในอาคาร สตง. มาตรวจสอบคุณภาพแล้วพบว่า เหล็กข้ออ้อยขนาด 20 มิลลิเมตร และเหล็กข้ออ้อยขนาด 32 มิลลิเมตร ไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องมาตรวจสอบเพื่อดูของกลางที่ถูกยึดอายัดไว้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. จำนวน 2,441 ตัน มูลค่าราว 50.1 ล้านบาท
- จุดแรก เข้าตรวจสอบเป็นบริเวณโกดัง ที่เก็บเหล็กเส้นที่ถูกอายัดเอาไว้ เพื่อตรวจสอบดูว่า มีการแกะของกลางออกไปไหนหรือไม่
- จุดสอง บริเวณโรงงานผลิตเหล็ก เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่า ได้มีการเปิดเตาหลอมเหล็กหรือไม่ ก่อนจะเข้าไปตรวจสอบในโรงงาน
ทางหัวหน้าชุดทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าไปพูดคุยกับตัวแทนบริษัท โดยดูขอบิลค่าไฟเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า มีการใช้ไฟมากน้อยแค่ไหน เพราะก่อนโดนอายัดโรงงานแห่งนี้ มีค่าไฟสูงถึงเดือนละ 130 ล้านบาท ซึ่งในเดือนมกราคม 2568 ที่ผ่านมา มีการใช้ไฟฟ้า 1.2 ล้านบาท เดือนกุมภาพันธ์ มีการใช้ไฟไป 6.4 แสนบาท เดือน มีนาคม มีการใช้ไฟฟ้า อยู่ที่ 786,033 บาท แต่มีการจ่ายจริงอยู่ที่ 6.4ล้านบาท ซึ่งทางพนักงานของโรงงานแจ้งว่า การที่เดือนมีนาคมค่าไฟสูงขึ้นเป็นหลักล้านนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้มีการแอบผลิต แต่ค่าไฟสูง เนื่องจากทางโรงงานได้แจ้งไปกับทางการไฟฟ้าว่า โรงงานถูกกระทรวงอุตสาหกรรมให้หยุดเครื่องจักรผลิต ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2567 (ตั้งแต่มีเหตุการณ์ไฟไหม้) แต่ทางการไฟฟ้านั้นสามารถ คิดค่าไฟฟ้าตามจริงให้ได้แค่ 2 เดือน ต่อปี คือเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2568

หลังจากนี้ทางโรงงานจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นยอดขั้นต่ำ คือ 5.9 ล้านบาท และรวม vat รวมภาษีต่างๆก็อยู่ที่ 6.4 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ทางโรงงานจะต้องจ่ายในเรทราคาขั้นต่ำแบบไปเรื่อยๆ เนื่องจากการขอใช้ไฟฟ้าในการจัดตั้งโรงงานนั้น เป็นการขอใช้ไฟฟ้าแรงสูงเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งจะมีเรทขั้นต่ำในการชำระค่าไฟ
นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้ขอเอกสารบันทึกการขายเหล็ก เพื่อตรวจสอบว่า มีการส่งเหล็กล็อตไหนบ้าง ที่ส่งไปสร้างอาคาร สตง. ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทางตัวแทนบริษัท เปิดเผยว่า ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเหล็กล็อตไหนบ้าง เพราะบริษัทไม่ได้มีการขายตรงให้กับ สตง. แต่เป็นการขายผ่านบริษัทที่เป็นตัวกลาง ไปขายต่อให้กับผู้รับเหมาสร้างอาคารอีกครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ตัวแทนบริษัทรับปากว่า จะมีการส่งข้อมูลไปให้กับกระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบภายใน 7 วัน
จากการตรวจสอบโรงงาน ผู้สื่อข่าวยังสังเกตเห็น “เหล็ก” ที่ถูกกระทรวงอุตสาหกรรมยึดไว้ ซึ่งในมัดเหล็กข้ออ้อยนั้น ยังมีป้าย มอก.(ป้ายสีน้ำเงิน) ติดไว้ที่กับตัวสินค้า หมายความว่า เหล็กขนาดนี้ผ่านการตรวจจาก มอก. แล้ว ซึ่งยังมีข้อขัดแย้งกับป้ายคำเตือนของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีการยึดเหล็กไว้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2568 ว่า เหล็กล็อตนี้ไม่ได้มาตรฐาน
จากการสอบถามนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากเดือนธันวาคมปี 2567 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและพบว่า เหล็กล็อตผลิตนี้ไม่ผ่านมาตรฐาน แต่มีการติดป้าย มอก. ซึ่งทางโรงงานเองก็จะโดนข้อหา การติดป้าย มอก. ซึ่งคุณสมบัติ ไม่ตรงกับ มาตรฐานที่ระบุไว้ และ ผลิตสินค้าที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน หากตรวจสอบได้ว่าสินค้าชุดนี้มีการนำออกไปขาย ทางผู้ผลิตก็จะโดนเพิ่มอีก 1 ข้อหา ขายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
นายตุ้ย ตัวแทนจากทางโรงงาน กล่าวว่า เหล็กที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรมตัดและนำไปตรวจ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ซึ่งตนนั้นอยากให้ทางอุตสาหกรรมนำเหล็กไปตรวจเพิ่มอีก 1 สถาบัน คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะทางโรงงานเชื่อว่าค่าโบรอน(boron) มาตรฐานไป ทางสถาบันยานยนต์จะสามารถตรวจค่าได้แม่นยำกว่า เนื่องจากตนต้องการให้ค่าแลปออกมาให้มันตรงกันถึงจะยอมรับได้ว่า เหล็กโรงงานตน ไม่ได้คุณภาพ ไม่ตรงมาตรฐานจริงๆ
ด้านนายธนพงศ์ จูสนิท ทนายฝ่ายโรงงาน กล่าวว่า จากการที่พบเหล็กของทางโรงานไปอยู่ในตึก สตง. ที่ถล่ม ทางโรงงานต้องเช็คก่อนว่า ขายเหล็กให้ใครไป และตึก สตง. ใช้เหล็กทางโรงงานในส่วนใดบ้าง ใช้ไปเท่าไหร่ ทางเรายังไม่มีข้อมูล ซึ่งนางสาวฐิติภัสร์ ก็ยินดีหากตัวแทนบริษัทต้องการนำเหล็กไปตรวจที่อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ตนต้องขออธิบายอย่างหนึ่งว่า ก่อนที่ทางโรงงานจะจัดตั้ง จะขอ มอก. ทางโรงงานได้ไปยื่นหนังสือเอกสารที่สถาบันเหล็กกล้า เพราะฉะนั้นในการส่งเหล็กไปตรวจจากสถาบันเหล็กกล้าทั้ง 2 ครั้งซึ่งผลออกมาแล้วว่า ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ทางโรงงานก็ยังไม่ยอมรับในผลตรวจนั้น มีการยื่นอุทธรณ์มาทั้ง 2 ครั้ง ทางตนก็ยินดีที่จะให้ทดสอบใหม่ แต่ผลทั้ง 2 ครั้งออกมาก็ตรงกันเหล็กของทางโรงงานไม่ผ่านมาตรฐาน อีกทั้งตัวแทนของทางอุตสาหกรรม ยังได้ชี้แจงกับคณะทำงานของทางบริษัทว่า เหล็กทั้งหมดที่ทางอุตสาหกรรมได้ยึดไว้ ทางโรงงานไม่มีสิทธิ์ที่จะเคลื่อนย้ายหรือตัดเหล็กออกไปตรวจเอง แล้ววันนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะขอตัดเหล็ก ไซส์ต่างๆ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อตรวจหาคุณสมบัติของเหล็กว่าต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่
ผู้สื่อข่าวยังได้พบเห็นอีกว่า เศษสแคป(scrap)ในโรงงานมีจำนวนมาก ซึ่งทางตัวแทนจากโรงงานเองก็ไม่ทราบว่ามีจำนวนกี่พันตัน ยังอยู่เต็มภายในโกดัง ประมาณ 3-4 โกดัง เนื่องจาก หยุดการผลิต วัตถุดิบจึงยังไม่ถูกนำใช้ และเตาหลอมนั้น