ย้อนดู 5 อันดับ เหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่เคยมีการเก็บข้อมูลหน่วยวัดการสั่นสะเทือน
เหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทย เพราะมีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่รู้หรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่เหตุการณ์รุนแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้น
นี่คือ 5 อันดับแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย นับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลหน่วยวัดการสั่นสะเทือน
1.แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน (26 ธันวาคม 2547) – ขนาด 9.1 ริกเตอร์
วันที่เกิดเหตุ: 26 ธันวาคม 2547
จุดศูนย์กลาง: นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
ผลกระทบ: แม้ศูนย์กลางจะอยู่นอกประเทศไทย แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อจังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทย เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน
2. แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา (28 มีนาคม 2568) – ขนาด 8.2 ริกเตอร์
วันที่เกิดเหตุ: 28 มีนาคม 2568
จุดศูนย์กลาง: เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา
ผลกระทบ: แรงสั่นสะเทือนรุนแรงส่งผลถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม คนงานก่อสร้างบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ถือเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
3. แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา (24 มีนาคม 2554) – ขนาด 6.8 ริกเตอร์
วันที่เกิดเหตุ: 24 มีนาคม 2554
จุดศูนย์กลาง: ประเทศเมียนมา ใกล้ชายแดนไทย
ผลกระทบ: แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน
4. แผ่นดินไหว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย (5 พฤษภาคม 2557) – ขนาด 6.3 ริกเตอร์
วันที่เกิดเหตุ: 5 พฤษภาคม 2557
จุดศูนย์กลาง: อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
ผลกระทบ: เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศไทย แรงสั่นสะเทือนทำให้อาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียน และโครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหายอย่างมาก
5. แผ่นดินไหว อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี (22 เมษายน 2526) – ขนาด 5.9 ริกเตอร์
วันที่เกิดเหตุ: 22 เมษายน 2526
จุดศูนย์กลาง: อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ผลกระทบ: แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ รวมถึงกรุงเทพมหานคร
แม้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวแต่การรับมือกับภัยพิบัติของประเทศไทยก็ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอยู่เรื่อยมา